หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อินทรวิเชียรฉันท์ 11

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑  แต่เพิ่ม ครุ,  ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย อ่านเพิ่มเติม...

กาพย์ยานี 11


ตัวอย่างคำประพันธ์
สิบเอ็ดบอกความนัยหนึ่งบาทไซร้องพยางค์
วรรคหน้าอย่าเลือนรางจำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลังตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำโยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่งสัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน
อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์         อ่านเพิ่มเติม...


กาพย์ฉบัง ๑๖


คณะ      กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๓ วรรค

พยางค์    พยางค์หรือคำ วรรคที่ ๑ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ 
               รวมทั้งหมดมี ๑๖ คำ จึงเรียกว่า กาพย์ฉบัง ๑๖

 สัมผัส    ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค ๒
               ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป 
                    ( เรียกว่า สัมผัสระหว่างบท )  อ่านเพิ่มเติม...

ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ


โคลงมีลักษณะบังคับ  ๖  อย่าง  ได้แก่  คณะ  พยางค์  สัมผัส    คำเอก   คำโท    คำเป็น  คำตาย   และ   คำสร้อย
            โคลงที่นิยมแต่งกันมากที่สุด  คือ  โคลงสี่สุภาพ

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน
ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา